วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Lecture 30/11/10

Outsourcing IT
Outsourcing ในมุมมองทาง IT คือ การนำงานส่วน IT ให้ภายนอกทำ
ข้อดี
บริษัทสามารถโฟกัสไปที่ธุรกิจของตนเองเป็นหลัก, ลดต้นทุน, พัฒนาคุณภาพได้ดีกว่า, เพิ่มความสามารถในการเข้าสู่ตลาด, มีนวัตกรรมใหม่ๆ ได้เร็ว
หน้าที่
Application maintenance, Telecommunications/LAN, PC maintenance
ค่าใช้จ่ายที่ต้องเสีย
ค่าวิเคราะห์ และเปรียบเทียบ, ค่าในการติดต่อสื่อสารกับ vendor, การส่งผ่านความรู้ไปยัง Outsourcer, ค่าใช้จ่ายการบริหารและพนักงานที่ต้องทำงานร่วมกัน, ค่าใช้จ่ายในการกลับมาทำ in-house
กลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงในการ Outsourcing
เข้าใจและรู้ความต้องการของบริษัท โดยมีกรอบที่ชัดเจน, อาจแบ่งโครงการเป็นส่วนเล็กๆ แล้วค่อยๆ ทำ, การให้แรงจูงใจกับพนักงาน, การทำสัญญาระยะสั้น แก้ปัญหาการขยายระยะเวลาของคู่สัญญา, มีส่วนร่วมในการควบคุมบริษัทที่คู่สัญญาไปติดต่อ, เลือก outsourcing เพียงบางส่วน
งานไหนที่ไม่ควร Outsourcing
งานที่ไม่ได้มีกระบวนการที่ชัดเจน, งานที่เป็นงานหลักของบริษัท, งานที่ต้องการรักษาความลับของข้อมูลอย่างมาก
Acquiring and Developing Business Applications and Infrastructure
คำนึงถึง
        ขนาดและประเภทของระบบ, ต้องสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา, สามารถใช้ได้กับบริษัทที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้จำหน่าย, มีหลายวิธีในการได้มา เช่น การซื้อ เช่า
ซื้อหรือเช่าดีกว่า
-           การซื้อถูกกว่าการเช่า
-           การเช่ามีความยืดหยุ่นมากกว่าการซื้อ สามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการและตามเทคโนโลยีได้
Software-as-a-Service (SaaS)
        เป็นการเช่า Software ผ่านทาง Web base Application มีประโยชน์ในการลดความเสี่ยงจากการซื้อ Software ใหม่ เป็นการเพิ่มคุณภาพของสินค้าและบริการ มองเป็นการให้บริการ ดังนั้น vendor จะทำการ update อยู่เสมอ จึงมีความสะดวกในการใช้งานที่มีความทันสมัยและทำการแก้บน web ไม่ได้มาแก้ที่บริษัท
In-House Development (Insourcing)
        แบ่งออกเป็น 1. Build from scratch – ต้องใช้เงินทุนสูง และใช้เวลามาก แต่จะได้สิ่งที่ตรงตามความต้องการขององค์กรจริงๆ 2. Build from components – ต้องทำการเชื่อมต่อ 3. Integrating applications - มีการเชื่อมกับ Suppliers สามารถเข้ามาตรวจดูยอดสินค้าได้
Selecting vendor and software package
        ตั้งเกณฑ์ในการประเมินที่เป็นไปตามความต้องการของบริษัท และถ่วงน้ำหนักในแต่ละ Package โดยต้องเลือกจาก vendor ที่มีความสามารถและมีความมั่นคง พร้อมทั้งต้องทำสัญญาที่มีความชัดเจน
Method for Restructuring
-           Business Process Redesign (BPR) การปรับเปลี่ยนกระบวนการ จากหน่วยเล็กไปยังหน่วยใหญ่     
-           Business Process Management (BPM) รวมระบบการทำงานและวิธีในการปรับเปลี่ยนกระบวนการ ระหว่าง คนกับคน ระบบกับระบบ และระบบกับคน

ฐาณิต อภิเชษฐ์โยธา 5302110134

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

"Dollar General Uses Integrated Software" Case 3

1.    Explain why the old, nonintegrated functional system created problems for the company. Be specific.
            สาเหตุที่ระบบแบบเดิมทำให้เกิดปัญหาภายในบริษัท Dollar General เนื่องมาจากการขาดการติดต่อเชื่อมโยงที่ดีภายในองค์กร ส่งผลให้บริษัทต้องสิ้นเปลืองเวลาและทรัพยากร ในระบบเดิมของบริษัทการจัดการคำสั่งซื้อของแผนกเจ้าหนี้มีเกิดปัญหา จากการใช้วิธีจับคู่เอกสารใบสั่งซื้อกับใบกำกับสินค้าโดยมือมนุษย์ไม่ได้ผ่านระบบอัตโนมัติ ซึ่งต่อมาเมื่อบริษัทมีขนาดใหญ่ขึ้น ต้องมีคำสั่งซื้อที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ระบบเดิมที่ใช้อยู่ไม่สอดคล้องกับการทำงานของบริษัทอีก
           
2.    The new system cost several million dollars. Why, in your opinion, was it necessary to install it?
ถึงแม้ว่าระบบใหม่ที่บริษัท Dollar General เลือกใช้จะมีราคาสูง แต่สิ่งที่สำคัญคือ ระบบใหม่สามารถนำมาใช้แก้ไขข้อบกพร่องเดิมที่บริษัทมีอยู่จากการใช้ระบบเก่า นั่นคือ ระบบใหม่สามารถเชื่อมโยงการทำงานของฝ่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งสะดวก รวดเร็ว และแม่นยำมากขึ้น นอกจากนี้ระบบใหม่ยังสามารถเข้าไปแก้ไขปรับเปลี่ยนข้อมูลได้ตามความเหมาะสม เช่น เพื่อทำรายงานสำหรับการตัดสินใจของผู้บริหาร เห็นว่าการเลือกใช้ระบบใหม่สอดคล้องกับการทำงานของบริษัทได้ดี

3.    Lawson Software Smart Notification Software (lawason.com) is being considered by Dollar General. Find information about the software and write an opinion for adoption or rejection.
Smart Notification Software เป็นระบบที่ช่วยในการคัดกรองข้อมูลอย่างเหมาะสม ถูกต้อง ทำให้การรายงานผล การวิเคราะห์ข้อมูล และการกระจายข้อมูลไปยังผู้ใช้ได้อย่างทันเวลาในรูปแบบอัตโนมัติ พนักงานแต่ละคนสามารถเลือกข้อมูลจากฝ่ายต่างๆ มาใช้ในการทำงาน ระบบนี้จึงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานและบริษัท Dollar General ได้ และยังช่วยลดต้นทุนในการดำเนินการ เนื่องจากการดำเนินการที่รวดเร็ว มีความถูกต้องและเป็นอัตโนมัติมากขึ้น เห็นว่าควรนำระบบนี้มาใช้

4.    Another new product of Lawson is Services Automation. Would you recommend it to Dollar General? Why or why not?
Services Automation เป็นระบบที่ใช้ในการอำนวยความสะดวกในการจัดการบริหารงานประจำวัน การบริหารทรัพยากร ค่าใช้จ่ายและกิจกรรมด้านการเงินทั้งหมด รวมถึงโอกาสทางการขายและการบริหารการเก็บเงินของบริษัท
จุดเด่นของระบบ Services Automation
-                    Opportunity Management บริหารการใช้ทรัพยากรขององค์กร การตรวจดูยอดรายรับและคาดการณ์กำลังในการผลิต
-                    Project Management ช่วยวิเคราะห์กลยุทธ์การลงทุนในปัจจุบันและโอกาสการลงทุนในอนาคต
-                    Resource Management ช่วยด้านการวิเคราะห์และช่วยด้านกำลังการผลิตและทรัพยากรที่ใช้
 จากข้อมูลของระบบดังกล่าว เห็นว่าระบบ Services Automation เป็นระบบที่มีความเหมาะสมกับการนำมาใช้ในบริษัท Dollar General เพราะจะช่วยในการบริหารงาน โดยรูปแบบที่ใช้ได้กับผู้บริหารทุกระดับภายในบริษัท สามารถนำมาใช้สนับสนุนการเปิดสาขาใหม่ของบริษัท เนื่องจากความสามารถของระบบในการใช้วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นได้



ฐาณิต อภิเชษฐ์โยธา 5302110134

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

"Transaction Processing System (TPS)" 22/11/10

ระบบสารสนเทศแบ่งตามลักษณะงานที่สนับสนุน
-          Transaction Processing System เป็นระบบที่บันทึกเก็บทุกอย่างที่เกิดขึ้นในองค์กร
-          Management Information System ใช้ TPS มาต่อยอด เพื่อให้นำไปใช้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-          Decision Support System ต่อยอดจาก TPS อีก เพื่อช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ
-          Executive Support System ใช้ TPS มาต่อยอด ให้ผู้บริหารใช้
-          Intelligence System พวก AI ใช้ระบบมาคิดแทนคนในองค์กรเลย
Transaction Processing System
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในชีวิตมนุษย์ เพื่อให้เกิดความสะดวกสบาย สำหรับการนำมาใช้ในธุรกิจมักเป็นการทำงานที่ซ้ำๆกันทุกวัน โดยเก็บ Transaction ไว้ เพื่อนำไปประมวลสรุป เก็บในฐานข้อมูลต่อไป
ระบบ TPS มีความสำคัญมากที่สุด เพราะข้อมูลทุกอย่างต้องผ่านระบบนี้หมด ระบบนี้ต้องได้รับการออกแบบที่มีความปลอดภัยมีความมั่นคง
คุณสมบัติ
1.     ต้องเชื่อถือได้ เช่น สินค้าเข้ามาต้องสามารถใส่เป็นเลข ID สแกนสินค้าได้ รหัสและระบบต้องมีความแน่นอน คนที่จะเข้าถึงได้ต้องมีอำนาจพอสมควร
2.     ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากภายในไม่ใช่จากภายนอก
3.     การประมวลผลข้อมูลมีการดำเนินงานเป็นประจำ
4.     ข้อมูลต้องมีโครงสร้างที่ชัดเจน
5.     ความซับซ้อนในการคำนวณมีน้อย ไม่จำเป็นต้องนำมาวิเคราะห์อะไรมาก
วงจรการประมวลผล
1.    Data entry
2.    Transaction processing
a.     Real-time ข้อมูลถูกประมวลผลทันที
เหมาะกับความต้องการแบบทันที
b.     Batch เก็บข้อมูลก่อนแล้วค่อยประมวลผล เช่น ธนาคาร
ข้อดีคือ ระบบไม่ต้องทำงานตลอดเวลา
3.     Document and Report Generation ผลิตรายงานออกมาได้ ระบบรายงานเป็นระบบที่คนทั่วไปใช้ในองค์กร
4.     Inquiry Processing หากผู้ใช้ต้องการถามระบบก็สามารถถามได้ ผ่านอินเตอร์เน็ต, อินทราเน็ต,หรือ เอ๊กซ์ทราเน็ต เว็บบราวเซอร์ ตลอดทั้งระบบจัดการฐานข้อมูล เช่น การร้องขอตรวจสอบยอดคงค้างในบัญชีลูกค้า

การบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูลและการจัดการกับฐานข้อมูล ต้องคำนึงถึง
1. ความถูกต้องของข้อมูล
      2. ความเป็นปัจจุบันของข้อมูล
เช่นระบบจองตั๋วเครื่องบิน ต้องการให้ข้อมูลเป็นปัจจุบันที่สุด และมีความแม่นยำ
วัตถุประสงค์ของระบบประมวลผลการเปลี่ยนแปลง
-          เพื่อตอบคำถามที่เกิดขึ้นประจำวัน
-          สิ่งสำคัญที่สุด คือ เพื่อผลิตและเตรียมสารสนเทศสำหรับระบบประเภทอื่นๆ
ผู้ใช้ระบบ TPS คือ คนส่วนใหญ่ในองค์กร ผู้ปฏิบัติการในระดับที่ไม่สูง
Marketing Information System Application
-          Dell and Jaguar ให้ลูกค้าสามารถเลือกสเปคเองได้
-          Car and Car insurance เมื่อซื้อรถข้อมูลก็ส่งไปยังบริษัทประกันรถ
-          Target marketing through emails ขายของผ่าน e-mail ขายของ
-          RFID tag payment, self-checkout station เช่น บัตรรถไฟฟ้า อำนวยความสะดวกในการใช้งาน
การนำระบบมาใช้กับ HR
นำมาใช้ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายเงินเดือน เวลาทำงาน ผลตอบแทน การว่าจ้าง ฯลฯ ในการจ้างงานปัจจุบันใช้ Search engine หรือ social network ในการสืบประวัติด้วย 
E-procurement
การนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการจัดหาสินค้า เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

"Building an E-Business at Fedex Corporation" Case 2

Q: What are the benefits to the customers?

A:ลูกค้าของ Fedex มี 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่เป็นผู้ซื้อและกลุ่มที่เป็นผู้ขาย
    Fedex ได้พัฒนาระบบสารสนเทศในทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน เพื่อการตอบสนองความต้องการของลูกค้า Fedex ทำหน้าที่เป็นสื่อตัวกลางให้ผู้ขายสามารถวางขายสินค้าใน website ของ Fedex ได้ และผู้ซื้อก็สามารถเข้ามาเลือกซื้อสินค้าจาก website ได้สะดวก Fedex ยังทำหน้าที่ในการติดต่ิอขอเครดิตกับธนาคารด้วย ข้อมูลของตัวสินค้า ตั้งแต่เลือกจากโกดังจนถึงกระบวนการขนส่ง สามารถเข้าถึงได้ตลอดกระบวนการ ทั้งผู้ซื้อ ผู้ขายและ Fedex

    ประโยชน์ที่ลูกค้าของ Fedex จะได้ัรับคือ
    - ความสะดวกรวดเร็ว เนื่องจากสามารถเลือกสินค้าได้แบบ Online จากนั้นบริษัทยังทำการติดต่อประสานงานให้ตลอด
    - ความน่าเชื่อถือ บริษัทมีความน่าเชื่อถือในการติดต่อซื้อขายและการขนส่ง อีกทั้งผู้ซื้อผู้ขายยังสามารถติดตามได้ตลอดกระบวนการ ทำให้ลูกค้าของ Fedex มีความมั่นใจในการใช้บริการ
    - สามารถลดขั้นตอนและต้นทุนในการซื้อสินค้าได้มาก
    - เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ในด้านผู้ซื้อสามารถใช้ Fedex เป็นสื่อกลางในการ Outsource สินค้าจากทั่วโลกที่อยู่ใน catalogs ของ Fedex สำหรับผู้ขายก็สามารถใช้ Fedex เป็นช่องทางในการจำหน่ายอีกทางหนึ่ง

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Understanding and Managing Information Technologies


ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศแบบครบวงจร
ตัวอย่าง ธุรกิจขายตรง
-           เลือกใช้แคตตาล๊อก สินค้าคงเหลือมาเก็บไว้ก่อนที่ผู้ขาย
-           ต้องใช้ระบบสารสนเทศทั้งองค์กร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
-           ใช้โทรศัพท์เป็นเครื่องมือในการสั่งของ ตรวจจำนวนสินค้า
ความสัมพันธ์กันระหว่าง Data, Information, Knowledge และ Information System
Data – ข้อมูลไม่มีความหมายในตัวเอง เอาไปทำประโยชน์อะไรไม่ได้ เช่น 2010 ไม่สามารถบอกได้ว่าคืออะไร ต้องเพิ่มข้อมูลเข้าไป เช่น ค.ศ. 2010 กลายเป็น Information
Information –ข้อมูลที่สามารถสื่อความหมายได้
Knowledge – องค์ความรู้ที่เกิดจากการนำ Information มาใช้อย่างลองผิดลองถูก ทำให้เกิด new data
Information System – ระบบที่พยายามให้ได้ซึ่งข้อมูล แล้วจึงนำมาแยกประเภท เช่น พฤติกรรมลูกค้า ต้องนำข้อมูลต่างๆ ของลูกค้ามาประมวลผลให้เป็นองค์ความรู้นำมาใช้ประโยชน์ได้
ปัญหา คือ ภายในองค์กรข้อมูล (Data) มีเยอะมาก แต่ไม่สามารถเอามาบริหารจัดการเป็นองค์ความรู้ได้อย่างไร เช่น ในE-mail รูปภาพ หรือ ตัวเลข
ตัวอย่างการใช้ระบบสารสนเทศภายในองค์กร
เช่น ต้องการรู้ข้อมูลลูกค้าก็สามารถนำระบบสารสนเทศมาเกี่ยวข้อง
ตัวอย่าง ระบบ Order สินค้าจากลูกค้า สามารถใช้ระบบสารสนเทศในการเชื่อมโยงแผนกต่างๆ
-           แผนกขาย รับคำสั่งซื้อจากลูกค้า
-           แผนกบัญชี ตรวจสอบ credit ของลูกค้า
-           แผนกผลิต ตรวจดูสินค้าคงเหลือ และผลิตเพิ่ม
Level of Information Systems
1.       Personal & Productivity เน้นไปที่ตัวบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือเป็นสื่อในการติดต่อสื่อสาร
2.       Transaction Processing Systems คอยดูแล Transaction ขององค์กร
3.       Function & Management Information Systems เนื่องจากระบบงานส่วนใหญ่เป็นแบบแนวตั้ง มีการจัดการดูแลอยู่ภายในแผนกเท่านั้น แต่ระบบสารสนเทศเป็นการจัดการดูแลแบบแนวนอน มีหน้าที่สนับสนุนทุกๆ หน่วยงานในองค์กร
4.       Enterprise Systems (Integrated) เป็นระบบที่มีการเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานภายในองค์กร อาจสามารถ เชื่อมโยงถึง Suppliers หรือลูกค้าได้ด้วย
5.       Interorganizational Systems เป็นระบบที่สามารถเชื่อมโยงหน่วยงานหลายๆ หน่วยเข้าด้วยกัน เช่น การเชื่อมโยงระหว่างสาขา
6.       Global Systems เป็นระบบที่ช่วยในการเชื่อมโยงได้ทั่วโลก อาจเป็นสาขาที่อยู่ทั่วโลก
7.       Very Large & Special Systems เป็นระบบที่มีความกว้างขวางมากที่สุด ไม่เพียงแค่เชื่อมโยงองค์กรใหญ่ๆ ยังรวมไปถึงองค์กรเล็กๆ ด้วย เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน หรือทัวร์
Transaction Processing Systems
เป็นระบบที่มีความสำคัญที่สุดในองค์กร เพราะช่วยในการเก็บข้อมูลทุกอย่างขององค์กรไว้ และข้อมูลที่ได้ต้องนำไปใช้ในระบบต่างๆ ขององค์กรต่อ ดังนั้นจึงต้องมีมาตรการป้องกันไม่ให้ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ เช่น ถ้าไม่มีระบบบัญชีที่ดี ผลการดำเนินงานก็อาจมีปัญหา หรือ ในระบบ Payroll ต้องมีการเก็บข้อมูลต่างๆ เช่น Management report, Employee files บอกรายละเอียดว่าพนักงานคนนี้ ทำยอดขายดี ทำงานไม่เคยพลาด ก็สามารถเก็บเป็นข้อมูลไปใช้ต่อได้ในอนาคต
Management Information Systems
เป็นระบบที่ผู้บริหารระดับกลางเท่านั้นใช้ในการตัดสินใจ โดยการนำข้อมูลในแต่ละสาขามาเปรียบเทียบกัน เช่น เปรียบเทียบข้อมูลยอดขายในแต่ละสถานที่ นำมาคาดการณ์ยอดขายได้ แต่เดิมเรียกว่า Reporting Information Systems เพราะต้องการออกรายงาน เพื่อให้ผู้จัดการระดับกลางนำมาใช้ในการตัดสินใจ ตัวรายงานจึงต้องสามารถเปรียบเทียบข้อมูล ระบบนี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้มาก เพราะเป็นระบบที่สร้างเพื่อให้ผู้บริหารระดับกลางใช้เท่านั้น
ระบบ MIS เก็บข้อมูลความเป็นไปที่เกิดขึ้นในองค์กรทั้งหมด เช่น ยอดขายแต่ละสัปดาห์มารวมกัน แล้วจึงออกเป็นรายงานบอกสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต
Decision Support Systems
เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจ ใช้ข้อมูลทั้งภายในและภายนอก เช่น จะลงทุนในปีหน้า ต้องดูข้อมูลต่างๆ เช่น ราคาหุ้น ราคาน้ำมัน
Group Decision Support Systems
ในการตัดสินใจเป็นกลุ่มต้องมีสารสนเทศที่ครบถ้วน มีข้อมูลเตรียมพร้อม เพื่อให้ในการตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดความขัดแย้ง
Executive Support Systems
เป็นระบบสำหรับผู้บริหารระดับสูง เพราะเป็นระบบที่ต่อเนื่องจาก MIS แต่เพิ่มข้อมูลจากภายนอกเข้ามาด้วย สามารถตรวจดู ใช้ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว อาจแสดงออกมาเป็นกราฟ เพื่อให้ดูง่าย หรือ Dashboard สามารถเลื่อนไปมาเพื่อเปรียบเทียบได้ นำข้อมูลไปใช้ในด้านกลยุทธ์ และเนื่องจากระบบ ESS ใช้ข้อมูลจากระดับล่างเพื่อให้ผู้บริหารใช้ในการตัดสินใจ ดังนั้นจึงควรสามารถเรียกจาก TPS ขึ้นมาเพื่อตรวจดูความผิดพลาดได้เลย
Enterprise Applications
เป็น Software ที่สามารถใช้ทำงานประสานกัน ส่วนใหญ่จะเป็นประเภท ERP, Supply Chain Management ฯลฯ
Enterprise Systems
เป็นระบบที่เก็บข้อมูลทั้งจากภายในและนอกองค์กร ทำให้การทำงานมีความลื่นไหล สามารถแบ่งปันข้อมูลกันภายในองค์กรได้
Supply Chain Management Systems
ระบบการบริหารความสัมพันธ์ระหว่าง Supplier และองค์กร อาจตั้งใกล้ๆ กัน มีระบบการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล (Supplier Relationship Management)
Customer Relationship Management
การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า เก่าให้ซื้อ ใหม่ให้เข้ามา เช่น ศูนย์บริการของ AIS เปิดให้ลูกค้าสามารถเข้าไปนั่งเล่นได้
Software At A Service/Cloud Computing
-           การซื้อระบบสารสนเทศหรือสร้างขึ้นเอง ข้อดีคือ อยากใช้เมื่อไหร่ก็ได้ เก็บความลับองค์กรได้  หรือ
-           การใช้สารสนเทศทาง Online ข้อดีคือ สามารถใช้ที่ไหนก็ได้ สามารถปรับใช้ เลือกได้ว่า ตอนนี้ต้องการใช้ Software แบบไหน และประหยัดลดต้นทุนมากกว่า ธุรกิจที่ใช้ เช่น Amazon.com ที่จะขายสินค้าได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ เท่านั้น
Knowledge Management Systems
ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการเก็บองค์ความรู้ต่างๆ ภายในองค์กร คนทุกคนมีความรู้อยู่ภายในตัว จึงต้องพยายามให้แสดงออกมาเก็บภายในระบบ เพื่อให้สามารถมาแชร์กันได้ แล้วจึงสามารถนำความรู้เหล่านั้นแตกยอดออกไปอีก ข้อดีคือ ไม่ต้องเทรนคนใหม่ตั้งแต่ศูนย์ สามารถมาศึกษาเองได้
Intranet
เป็น Technologyมีที่มาจาก Internetworking เป็นการใช้ภายในองค์กร เพราะ Internet ไม่ปลอดภัย เชื่อมต่อทั่วโลก
Extranet
Network ที่องค์กรต่างๆ ใช้เชื่อมต่อซึ่งกันและกัน อาจจะข้ามสถานที่ แต่ละสาขา จะมีความปลอดภัยสูงกว่า Internet
Collaboration and Communication Systems
ระบบที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันภายในองค์กร (Interaction) เช่น
·         โทรศัพท์มือถือ ,Smart Phone
·         Social Network ที่ใช้ภายในองค์กร
·         Wikis (Software ที่ใช้ใน Wikipedia) เกิดการที่ผู้เชี่ยวชาญหลายๆ คนเข้ามาเขียน ต้องตรวจสอบข้อมูลก่อนใช้
·         Virtue Worlds การสร้างอะไรต่างๆ แบบ Online
E-Commerce การซื้อขายระหว่างองค์กรกับคนทั่วไป เช่น E-bay, การซื้อขายตัวละครในเกมส์
E-Business การซื้อขายระหว่างองค์กร
E-Government เช่น การเสียภาษีออนไลน์ การซื้อขายป้ายทะเบียนรถเลขสวย
Information System Department
ภายในองค์กรควรมีระบบสารสนเทศ เพื่อช่วยสนับสนุนหน่วยงานทุกหน่วยในองค์กร มีความสามารถเขียนโปรแกรมได้ ฯลฯ แต่บริษัทส่วนใหญ่ยังไม่มี ไม่ค่อยเห็นความสำคัญ องค์กรที่มีขนาดใหญ่ควรมีแผนก IS เพื่อใช้ติดต่อกับ Supplier ต่างๆ ได้

ฐาณิต    5302110134