วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

Enterprise System, Supply Chain Management, Enterprise Resource Planning


Enterprise System
-                   เป็นระบบที่เชื่อมกระบวนการหลักของธุรกิจ เพื่อให้ข้อมูลสามารถเชื่อมโยงกันทั่วองค์กร ระบบสารสนเทศพื้นฐานที่สุดขององค์กรคือ Functional Information System ระบบที่มีความแตกต่างกันในแต่ละหน่วยงาน เพราะความต้องการของแต่ละหน่วยแตกต่างกัน มีการทำงานและตัดสินใจเฉพาะของแต่ละหน่วย
ตัวอย่าง Enterprise wide System

- ERP เป็นระบบที่สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมข้อมูลจากทุกแผนกในองค์กร เพื่อการจัดการบริหารงานภายในขององค์กร
- CRM ระบบที่ใช้จัดการในด้านการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า
- Knowledge Management System (KM) เป็นระบบใช้ในการบริหารจัดการองค์ความรู้ภายในองค์กร
- Supply Chain Management (SCM) ระบบจัดการ Supply Chain ตั้งแต่ต้นสายจนปลายสาย
- Decision Support System (DSS) ระบบที่ช่วยในการประกอบการตัดสินใจสำหรับผู้บริหาร โดยนำข้อมูลที่มีนำมาประมวลผล สร้างข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจ
- Business Intelligence (BI) การบริหารความรู้ภายในองค์กร โดยอาจรวบรวมจากการสื่อสารระหว่างบุคคล

ระบบสารสนเทศที่ใช้ใน Supply Chain Management

- Warehouse Management System (WMS) ใช้ในการจัดการโรงเก็บสินค้าคงคลัง เพื่อบริหารสินค้าในคลัง
- Inventory Management System (IMS) ระบบที่ใช้ในการบริหารสินค้าคงเหลือ
- Fleet Management System ระบบจัดการการขนส่งสินค้า เพื่อบริหารการส่งของ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ว่า สินค้าถูกนำไปถึงที่ไหนแล้ว มีจำนวนเท่าไร และใช้ RFID เป็นเครื่องมือช่วยในการทำงานด้วย
- Vehicle Routing and Planing ระบบจัดการเส้นทางการขนส่ง สามารถคำนวณเส้นทางเดินรถ เพื่อการตัดสินใจว่าเส้นทางดีกว่า คุ้มค่า และประหยัดน้ำมันมากที่สุด 
- Vehicle Based System บริหารจัดการรถบรรทุกในการตรวจสอบสถานะ สถานที่การเดินทางที่อยู่ปัจจุบัน

10 IT Trends for Logistics Supply Chain Management

1. Connectivity สามารถเชื่อมโยงกับเครื่องมือต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
 - 802.11n standard มาตรฐานระดับความเร็วของอินเตอร์เน็ทที่นำมาใช้ใน SCM
 - 802.11g ระดับความเร็วของอินเตอร์เน็ทที่อาจจะนำมาใช้ในอนาคต เร็วกว่า 802.11n standard เนื่องจากสามารถกระจายคลื่นผ่านเครื่องกระจายได้มากขึ้น
2. Advanced Wireless: Voice & GPS เป็นการนำการสื่อสารด้วยเสียง และ GPS เพื่อสร้างความสะดวกยิ่งขึ้น
3. Speech Recognition การสั่งงานด้วยเสียง
4. Digital Imaging การประมวลผลภาพดิจิตอล
5. Portable Printing สามารถทำเป็นใบเสร็จและติดต่อกลับเข้าที่สำนักงานใหญ่ได้ทันที สามารถสร้างเอกสารที่ไหนและเมื่อไรก็ได้
6. 2D & other bar coding advances บาร์โค้ด 2 มิติ สามารถบันทึกข้อมูลได้อย่างสะดวก อีกทั้งยังสามารถออกแบบให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กรได้ 
7. RFID ชิปฝังอยู่ในบัตรหรือแถบสินค้า สามารถสแกนอ่านข้อมูลได้ ใช้คลื่นแม่เหล็กในการส่งผ่านข้อมูล แล้วจึงสามารถนำข้อมูลนั้นไปประมวลผลต่อได้
8. Real Time Location System; RTLS ระบบแสดงตำแหน่งเวลาจริง ใช้ร่วมกับ RFID ทำให้องค์กรสามารถใช้ตรวจสอบตำแหน่งปัจจุบัน ทำให้องค์กรสามารถติดตามสินทรัพย์ได้ทันที
9. Remote Management การจัดการทางไกล ใกล้เคียงกับ RTLS เพียงแต่ใช้สำหรับระยะไกล โดยใช้ระบบแลนไร้สายเพื่อติดตามสินทรัพย์
10. Security ความปลอดภัยของอุปกรณ์และเครือข่ายไร้สาย

ERP
ทำหน้าที่ช่วยในการเชื่อมโยงและแบ่งปันข้อมูลจากทุกหน่วยงานได้ สำหรับการนำ ERP มาใช้อาจเกิดปัญหา เนื่องจากต้องมีการปรับตัวจากระบบสารสนเทศเดิม ซึ่งอาจทำให้เกิดกระแสต่อต้านได้ ดังนั้นการนำ ERP มาใช้ก็อาจไม่ประสบความสำเร็จ
ตัวอย่างระบบ ERP คือ SAP, Oracle
ข้อดีและข้อเสียของ ERP
ข้อดี
     - สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และเพิ่มความสามารถในการทำกำไร
     - สามารถเพิ่มความสะดวกในการใช้ข้อมูล
ข้อเสีย
     - สร้างความวุ่นวายในการใช้งาน เพราะเมื่อนำ ERP มาใช้ อาจไม่สามารถเชื่อมโยงกับระบบที่มีอยู่เดิมได้
     - มีราคาสูง

Third-Party Module
สามารถนำข้อมูลมาเชื่อมกับ ERP เพื่อใช้ในการบริหารงานด้านอื่นๆ สามารถใช้งานในราคาต้นทุนที่ประหยัดกว่า แต่อาจเกิดปัญหาในด้านความเชื่อมโยงเข้ากับระบบหลักได้

น.ส. ฐาณิต อภิเชษฐ์โยธา  5302110134

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

19/01/11

Data Warehouse
Data Warehouse คือ ฐานข้อมูลขององค์กร ซึ่งทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากที่เป็นระบบงานประจำวันขององค์กร รวมถึงจากภายนอกองค์กร โดยข้อมูลที่ถูกจัดเก็บใน Data Warehouse เป็นข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ ข้อมูลในคลังข้อมูลนี้จะถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจบริหารงานของผู้บริหาร

Data Warehouse processing ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ
1. รวบรวมข้อมูล ทั้งจากภายในและนอกองค์กร
             2. จัดทำ Meta Data เป็นข้อมูลที่ใช้อธิบายข้อมูลที่อยู่ใน Data warehouse
             3. Data Staging ซึ่งประกอบไปด้วยการทำ Extract, Clean, Transform และ Load
             4. สร้าง Data Warehouse 
             5. สร้าง Business View 

Data Mart
         Data Warehouse ขนาดเล็กของแต่ละแผนก
ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในหน่วยธุรกิจ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายในการใช้งานของแต่ละแผนก โดยแบ่งออกเป็น 
1. Replicated (Dependent) Data Mart หลาย ๆ กลุ่ม
2. Stand-alone Data Mart บริษัทสามารถมี Data Mart มากกว่าหนึ่งก็ได้ และเป็นอิสระจากกันโดยไม่จำเป็นต้องมี Data Warehouse 

Data Cube
เป็น Multidimensional Databases หรือ OLAP เทคโนโลยีที่ใช้ข้อมูลจากคลังข้อมูล เป็นกระบวนการประมวลผลข้อมูลที่ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูข้อมูลจากจุดการมองที่แตกต่างกันได้ง่าย เริ่มต้นจากการสรุปรวมข้อมูล ก่อนที่จะกระทำการสร้างรายงานและการสร้างแผนภูมิจากข้อมูลที่เลือก ช่วยให้ผู้ใช้เห็นข้อมูลเหล่านั้น ในหลายๆ มิติ ทำให้มีประสิทธิภาพในการนำไปใช้มากยิ่งขึ้น 

Business Intelligence
          
ซอฟต์แวร์ที่นำข้อมูล เพื่อจัดทำรายงานในรูปแบบต่างๆ แสดงความสัมพันธ์ และทำนายผลลัพธ์ของแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนกลยุทธ์ด้านต่างๆ ประกอบไปด้วย
1. Reporting and Analysis 
               - Enterprise Reporting System 
               - Dashboards 
               - Scorecard 
             2. Analytics - การใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีตัวอย่างดังต่อไปนี้
               - Online Analytical Processing (OLTP) 
               - Data Mining 

ปัญหาในการใช้ Business Intelligence 
ไม่สามารถเชื่อมข้อมูลจากแผนกในองค์กรได้ภายใต้ระบบเดียวกัน
องค์กรส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้งานในส่วน Analytics อย่างคุ้มค่า
องค์กรอาจใช้เวลาในการติดตั้งระบบมาก และต้องใช้เวลาเพื่อให้ user ของแผนกต่างๆ สามารถใช้งานได้คล่องแคล่ว
การเปลี่ยนจากระบบเดิมเป็นระบบใหม่อาจทำได้ยาก
พนักงาน IT ขององค์กรขาดความรู้ความเข้าใจในบริหาร
ค่าใช้จ่ายสูงมาก

 นางสาวฐาณิต อภิเชษฐ์โยธา
5302110134

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

12/01/11

ระบบ คือ การทำงานที่เป็นขั้นตอน ประกอบด้วย
-          - Objective
-          - Inputs
-          - Process
-          - Outputs
วัตถุประสงค์เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดก่อน ว่าต้องการ Output ออกมาเป็นอย่างไร แล้วจึงสามารถบอก Input และ Process ได้
ข้อความใดๆ จะบอกว่าเป็น Data หรือ Information ขึ้นอยู่กับผู้รับสาร ไม่ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อความ
-          - ผู้รับเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ได้ประโยชน์จากสารนั้น แสดงว่าข้อความนั้นเป็น Information
-          - ผู้รับไม่ได้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย และไม่ได้ประโยชน์จากสารนั้น แสดงว่าข้อความนั้นเป็น Data

ระบบสารสนเทศ
-          - Output ของระบบสารสนเทศ คือ สารสนเทศ
-          - ตัวอย่างของระบบสารสนเทศ คือ www.amazon.com โดยผู้ซื้อจะใส่ Input เข้าไป แล้วจึงผ่านการประมวลผลสั่งซื้อ และตอบเมลกลับให้ผู้ซื้อ
-          - ระบบสารสนเทศจะทำการเก็บข้อมูล ไม่ใช่เก็บสารสนเทศ

การจัดการข้อมูล คือ การเก็บข้อมูล และการเลือกใช้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์
ความยากของการจัดการข้อมูล
-           ข้อมูลมีจำนวนเยอะมาก จะสามารถเก็บได้หมดรึเปล่า หากเก็บได้หมดจะยากในการเรียกใช้รึเปล่า
-           ข้อมูลมีการกระจายตัวอยู่ภายในองค์กร
-           ข้อมูลมีความซ้ำซ้อนกัน มีการสร้างข้อมูลและใช้ข้อมูล โดยไม่มีการควบคุมที่เพียงพอ
-           ข้อมูลจากแหล่งภายนอกก็มีความจำเป็นในการนำมาใช้
-           ให้ความสำคัญต่อหลักเกณฑ์ของข้อมูล ทั้งในด้านความปลอดภัย คุณภาพ และการบูรณาการ ซึ่งส่งผลต่อการเลือกเครื่องมือการจัดการข้อมูลมาใช้
พื้นฐาน
-           Data Profiling เข้าใจข้อมูล
-           Data quality management พัฒนาคุณภาพของข้อมูล
-           Data integration การรวบรวมข้อมูลจากหลายๆ แหล่ง
-           Data augmentation พัฒนาข้อมูลให้ดีขึ้น
Data Base VS Data warehouse
-           Data Base เก็บข้อมูลมาจาก Transaction Processing System
-           Data Warehouse นำข้อมูลเฉพาะบาง Attribute ที่ต้องการ ใช้มาจาก Data Base นำมาเรียบเรียงและจัดเก็บใหม่ โดยการนำข้อมูลจากหลายๆ แหล่งมาจัดให้เป็นชุดเดียวกัน เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ เหมาะสำหรับผู้บริหารที่ตัดสินใจโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูล
โดยลักษณะของ Data Warehouse คือ
o   ข้อมูลจะมีการจัดเรียงโดยหัวข้อ เช่น ชื่อเจ้าหนี้จากหลายๆ แผนก
o   ข้อมูลมีความสม่ำเสมอ จะทำการบันทึกใน Data Warehouse ในรูปแบบเดิม
o   เก็บข้อมูลประมาณ 5 ถึง 10 ปี
o   เมื่อนำข้อมูลเข้าสู่ Data Warehouse จะไม่มีการ Update ใดๆ ทั้งนั้น เมื่อมีการใส่ข้อมูลเพิ่มจะเรียกว่า Refresh Data
การใช้ Data Warehouse เหมาะกับ
o   มีข้อมูลจำนวนมาก
o   มีการเก็บข้อมูลในหลายระบบ
o   ผู้บริหารต้องการข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจ
o   มีข้อมูลที่เหมือนๆ กัน แต่อยู่ในระบบที่ต่างกัน


 ฐาณิต อภิเชษฐ์โยธา
5302110134