วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

Enterprise System, Supply Chain Management, Enterprise Resource Planning


Enterprise System
-                   เป็นระบบที่เชื่อมกระบวนการหลักของธุรกิจ เพื่อให้ข้อมูลสามารถเชื่อมโยงกันทั่วองค์กร ระบบสารสนเทศพื้นฐานที่สุดขององค์กรคือ Functional Information System ระบบที่มีความแตกต่างกันในแต่ละหน่วยงาน เพราะความต้องการของแต่ละหน่วยแตกต่างกัน มีการทำงานและตัดสินใจเฉพาะของแต่ละหน่วย
ตัวอย่าง Enterprise wide System

- ERP เป็นระบบที่สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมข้อมูลจากทุกแผนกในองค์กร เพื่อการจัดการบริหารงานภายในขององค์กร
- CRM ระบบที่ใช้จัดการในด้านการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า
- Knowledge Management System (KM) เป็นระบบใช้ในการบริหารจัดการองค์ความรู้ภายในองค์กร
- Supply Chain Management (SCM) ระบบจัดการ Supply Chain ตั้งแต่ต้นสายจนปลายสาย
- Decision Support System (DSS) ระบบที่ช่วยในการประกอบการตัดสินใจสำหรับผู้บริหาร โดยนำข้อมูลที่มีนำมาประมวลผล สร้างข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจ
- Business Intelligence (BI) การบริหารความรู้ภายในองค์กร โดยอาจรวบรวมจากการสื่อสารระหว่างบุคคล

ระบบสารสนเทศที่ใช้ใน Supply Chain Management

- Warehouse Management System (WMS) ใช้ในการจัดการโรงเก็บสินค้าคงคลัง เพื่อบริหารสินค้าในคลัง
- Inventory Management System (IMS) ระบบที่ใช้ในการบริหารสินค้าคงเหลือ
- Fleet Management System ระบบจัดการการขนส่งสินค้า เพื่อบริหารการส่งของ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ว่า สินค้าถูกนำไปถึงที่ไหนแล้ว มีจำนวนเท่าไร และใช้ RFID เป็นเครื่องมือช่วยในการทำงานด้วย
- Vehicle Routing and Planing ระบบจัดการเส้นทางการขนส่ง สามารถคำนวณเส้นทางเดินรถ เพื่อการตัดสินใจว่าเส้นทางดีกว่า คุ้มค่า และประหยัดน้ำมันมากที่สุด 
- Vehicle Based System บริหารจัดการรถบรรทุกในการตรวจสอบสถานะ สถานที่การเดินทางที่อยู่ปัจจุบัน

10 IT Trends for Logistics Supply Chain Management

1. Connectivity สามารถเชื่อมโยงกับเครื่องมือต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
 - 802.11n standard มาตรฐานระดับความเร็วของอินเตอร์เน็ทที่นำมาใช้ใน SCM
 - 802.11g ระดับความเร็วของอินเตอร์เน็ทที่อาจจะนำมาใช้ในอนาคต เร็วกว่า 802.11n standard เนื่องจากสามารถกระจายคลื่นผ่านเครื่องกระจายได้มากขึ้น
2. Advanced Wireless: Voice & GPS เป็นการนำการสื่อสารด้วยเสียง และ GPS เพื่อสร้างความสะดวกยิ่งขึ้น
3. Speech Recognition การสั่งงานด้วยเสียง
4. Digital Imaging การประมวลผลภาพดิจิตอล
5. Portable Printing สามารถทำเป็นใบเสร็จและติดต่อกลับเข้าที่สำนักงานใหญ่ได้ทันที สามารถสร้างเอกสารที่ไหนและเมื่อไรก็ได้
6. 2D & other bar coding advances บาร์โค้ด 2 มิติ สามารถบันทึกข้อมูลได้อย่างสะดวก อีกทั้งยังสามารถออกแบบให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กรได้ 
7. RFID ชิปฝังอยู่ในบัตรหรือแถบสินค้า สามารถสแกนอ่านข้อมูลได้ ใช้คลื่นแม่เหล็กในการส่งผ่านข้อมูล แล้วจึงสามารถนำข้อมูลนั้นไปประมวลผลต่อได้
8. Real Time Location System; RTLS ระบบแสดงตำแหน่งเวลาจริง ใช้ร่วมกับ RFID ทำให้องค์กรสามารถใช้ตรวจสอบตำแหน่งปัจจุบัน ทำให้องค์กรสามารถติดตามสินทรัพย์ได้ทันที
9. Remote Management การจัดการทางไกล ใกล้เคียงกับ RTLS เพียงแต่ใช้สำหรับระยะไกล โดยใช้ระบบแลนไร้สายเพื่อติดตามสินทรัพย์
10. Security ความปลอดภัยของอุปกรณ์และเครือข่ายไร้สาย

ERP
ทำหน้าที่ช่วยในการเชื่อมโยงและแบ่งปันข้อมูลจากทุกหน่วยงานได้ สำหรับการนำ ERP มาใช้อาจเกิดปัญหา เนื่องจากต้องมีการปรับตัวจากระบบสารสนเทศเดิม ซึ่งอาจทำให้เกิดกระแสต่อต้านได้ ดังนั้นการนำ ERP มาใช้ก็อาจไม่ประสบความสำเร็จ
ตัวอย่างระบบ ERP คือ SAP, Oracle
ข้อดีและข้อเสียของ ERP
ข้อดี
     - สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และเพิ่มความสามารถในการทำกำไร
     - สามารถเพิ่มความสะดวกในการใช้ข้อมูล
ข้อเสีย
     - สร้างความวุ่นวายในการใช้งาน เพราะเมื่อนำ ERP มาใช้ อาจไม่สามารถเชื่อมโยงกับระบบที่มีอยู่เดิมได้
     - มีราคาสูง

Third-Party Module
สามารถนำข้อมูลมาเชื่อมกับ ERP เพื่อใช้ในการบริหารงานด้านอื่นๆ สามารถใช้งานในราคาต้นทุนที่ประหยัดกว่า แต่อาจเกิดปัญหาในด้านความเชื่อมโยงเข้ากับระบบหลักได้

น.ส. ฐาณิต อภิเชษฐ์โยธา  5302110134

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น