วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

"M-commerce"

M-Commerce
การซื้อขายแลกเปลี่ยนสิ่งของต่างๆ ผ่านทาง mobile ไม่ใช่แค่โทรศัพท์มือถือแต่เป็นอะไรก็ตามที่สามารถพกพาได้ เช่น Tablet มักเป็นอะไรที่สามารถพิมพ์ หรือใช้นิ้ว touch screen ใช้ได้ง่าย
Mobile Computing - Computer แบบพกพา เช่น Tablet
ทำไม M-Commerce จึงสำคัญ
-          Ubiquity  สามารถใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา
-          Convenience สะดวกในการใช้ Internet
-          Instant connectivity สามารถเข้า internet ได้ทันที เพราะแต่เดิม Computer ไม่ได้สร้างมาเพื่อให้เข้า internet แต่เพื่อการทำงานออฟฟิต
-          Personalization สามารถปรับให้ตรงกับความเป็นตัวตนของผู้ใช้
-          Localization of products & services
Drivers of mobile computing & M-commerce
-          Widespread availability of mobile device คนใช้กันเยอะขึ้น หลายคนใช้โทรศัพท์มือถือมากกว่า 1 เครื่อง
-          No need for pc สามารถใช้โทรศัพท์มือถือทดแทนได้ทุกอย่าง
-          Handset culture เนื่องจากแนวโน้มวัฒนธรรม ผู้คนเริ่มใช้โทรศัพท์มือถือมากขึ้น และมีการใช้บริการผ่านมือถือมากยิ่งขึ้น
-          Declining prices, increased functionalities แนวโน้มราคาของโทรศัพท์มือถือจะลดลง แต่ความสามารถในการทำงานจะมีมากขึ้น
-          Improvement of bandwidth เครือข่ายการเชื่อมต่อผ่านมือถือ เช่น 3G, 3.5G และยังมีการพัฒนาต่อไปอีก
-          Centrino chip
-          Availability of Internet access in automobile
-          Networks
-          Vendor push
Mobile Computing Infrastructure
-          WAP มาตรฐานของเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร
-          Markup languages: WML, XHTML
-          Mobile development: .NET compact, Java ME, Python
-          Mobile Emulators เช่น สามารถเล่นเกมส์สำหรับเครื่องเล่นอื่นใน computer ได้
-          Microbrowsers: Android, Safari, IE mobile, Firefox mobile
-          HTML5 พัฒนามาแทนที่การใช้ Flash เพราะ Flash มีข้อเสียที่ต้อง download ใหม่บ่อยๆ
Mobile Computing Basic Terminology
-          Bluetooth
-          Enhanced messaging service (EMS)
-          Global positioning system (GPS)
-          Multimedia messaging service (MMS)
-          Personal digital assistant (PDA)
-          Short messaging service (SMS)
-          Smart phones
-          WiMax เป็น wireless ขนาดใหญ่มาก ไม่มีเสา
-          Wireless application protocol (WAP)
-          Wireless local area network (WLAN)
M-commerce Business models
-          Usage fee model (subscription based/usage based)
-          Shopping Business Models
-          Marketing business Models
-          Improved Efficiency Models
-          Advertising Business Models (Flat fees/Traffic-based fees)
-          Revenue-Sharing Business Models

ตัวอย่างของ M-Commerce เช่น
M-Banking  การทำธุรกรรมทางโทรศัพท์มือถือผ่านทาง Internet เช่น การตรวจสอบยอดเงินในบัญชี การโอนเงิน เป็นต้น
iTune - เป็นแหล่งรวบรวม content ของ Apple เช่น เพลง ภาพยนตร์ Application ฯลฯ ผู้ใช้เทคโนโลยีของ Apple สามารถเข้ามาซื้อ content ต่างๆได้ สามารถค้นหาได้ง่าย ไม่มีความเสี่ยงเรื่องไวรัส ราคาสมเหตุสมผล ซึ่งถือเป็นจุดได้เปรียบของ Apple ที่ทำให้เจ้าอื่นๆไม่สามารถสู้ได้ เพราะลูกค้ารับรู้ว่า เมื่อซื้อสินค้าของ Apple แล้ว ก็สามารถใช้บริการอื่นๆในเว็บนี้ได้อย่างสะดวกสบายต่อไป
QR code - การใช้ code สแกน เช่น ในโทรศัพท์มือถือ Blackberry
Location-Based Services and Commerce - เช่น เมื่อเข้างานแสดงสินค้าต่างๆ ก็จะมีข้อความส่งมา ยินดีต้อนรับ หรือแสดงโปรโมชั่นต่างๆ
GPS - ใช้เพื่อบอกทิศทางหรือบอกตำแหน่ง โดยใช้ระบบดาวเทียม
FourSquare
                เป็น App ที่บอกตำแหน่งของผู้ใช้ เช่น เข้าร้านอาหารอะไร อาจได้รับโปรโมชั่นจากทางร้าน ถ้าเป็นผู้เข้ามา check in บ่อยที่สุด พบว่ามีการใช้เพื่อสร้าง Community เช่น ในมหาวิทยาลัย
Application ที่ ใกล้เคียงกัน เช่น GeoTagging ของ twitter, Google Places, Best Buy Shop Kicks มีประโยชน์ เช่น บอกโปรโมชั่นของทางร้าน
ข้อจำกัดของ M-commerce
      Insufficient bandwidth เครือข่ายไม่กว้างพอ เทคโนโลยียังไม่พร้อม
      Security standards
      Power Consumption
      Transmission Interferences
      GPS Accuracy
      Potential Health Hazards
      Human Interface with Device
      Small Screens
      Reduced memory
      Limited Bandwidth
      Restricted input capabilities
      Cost – it’s readily available; why pay for it?
      Trust  ความน่าเชื่อถือว่าเทคโนโลยีจะใช้ได้จริง

ฐาณิต อภิเชษฐ์โยธา 5302110134

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

"E-Business and E-Commerce"

ตัวอย่างธุรกิจที่ใช้ E-Business และ E-Commerce

DELL
          เปิดช่องทางให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าผ่าน website ได้ โดยลูกค้าสามารถเลือก Feature ต่างๆ ตามที่ต้องการ

E-bay
          Website ที่มีการประมูล ราคาจะสูงกว่าราคาที่ขายจริงในท้องตลาด เพราะคนอยากเอาชนะกัน เพื่อให้ได้ของนั้นๆ

Amazon
ใช้หลักการ Long tail เนื่องจากคนส่วนใหญ่จะซื้อของแค่ไม่กี่ชนิด ซึ่งมักเป็นพวกหนังสือขายดี เช่น ในร้านหนังสือ คนจะซื้อเฉพาะหนังสือขายดี ดังนั้นการนำหนังสือขายผ่านอินเตอร์เนตก็เป็นช่องทางในการขายหนังสือที่ไม่ใช่หนังสือขายดีได้


Brick&mortar ธุรกิจทั่วๆ ไป มีหน้าร้านและให้ลูกค้าเข้ามาซื้อของในร้าน
Click&motar ธุรกิจที่มีหน้าร้านและมีขายผ่านอินเตอร์เน็ตด้วย เช่น Bank

Affiliate marketing
การให้ธุรกิจอื่นติดตั้ง link ใน website ของเรา เมื่อมีคนกดเข้าไปและซื้อของนั้น เราจะได้ % ด้วย

Bartering online
          เช่น Craigslist.com website ที่เปิดให้มีการแลกเปลี่ยน

API (Application Programming Interface)
          Software ที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่าง Software ที่ต่างกัน ช่วยในการอำนวยความสะดวก

Benefit to E-commerce
-          เพิ่มประโยชน์ให้องค์กรมากขึ้น เพิ่มยอดขาย ลดค่าใช้จ่าย เก็บข้อมูลลูกค้า
-          เพิ่มความสะดวกให้กับคน
-          ยกระดับชีวิตในสังคม

Limitation of E-commerce
-          ควรมีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
-          ผู้ซื้อและผู้ขายต้องมีพื้นฐานทางอินเตอร์เนต
-          ขาดกฏหมายรับรอง

Social commerce
การใช้ Social technology มาใช้ในการซื้อของ เนื่องจากหากคนคิดจะซื้อของ จะเชื่อเพื่อนมากกว่าเชื่อสื่อ ดังนั้น จึงใช้ web เป็นสื่อในการให้เพื่อนมาแนะนำเพื่อน

Wiki
          Software ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถดัดแปลง แก้ไข web site ได้

E-catalog – การทำ catalog แบบออนไลน์
E-Auction – การประมูลออนไลน์
E-mall – website ที่ให้ร้านค้าต่างๆ เอาของมาขาย มีลักษณะคล้ายห้างสรรพสินค้า
E-government – มีทั้งการค้าขายและการทำธุรกรรมต่างๆ โดยรัฐ เช่น การจ่ายภาษีออนไลน์ การประมูลทะเบียนรถ

ฐาณิต อภิเชษฐ์โยธา    5302110134

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Lecture 7/12/10

Moore’s Law

ความสามารถของ Computer Chip จะมีเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆ 18-24 เดือนในขณะที่ต้นทุนยังเท่าเดิม ซึ่งเป็นโอกาสที่องค์กรจะได้ซื้อของที่ดี ในราคาถูกเพิ่มมากขึ้น อัตราส่วน Price-to-performance จะลดลงอย่างมาก

Productivity Paradox
Productivity Paradox เป็นความขัดแย้งกันระหว่างการพัฒนาของเทคโนโลยี กับการเติบโตที่ช้าลงของ Productivity 
เหตุผลที่เป็นไปได้ของ Productivity Paradox อย่างเช่น วัด Productivity ได้ยาก เนื่องจากมีความยากในการวัด หรือต้องใช้เวลาในการรอผลเนื่องจากการลงทุนใน IT ซึ่งมีเงินลงทุนที่สูง ดังนั้นอาจไปลดต้นทุนในส่วนแผนกงานอื่นๆ ทำให้แผนกงานอื่นมีผลงานที่แย่ลง ทำให้ไม่สามารถเห็นผลประโยชน์ที่ได้รับสำหรับภาพรวมของบริษัทได้อย่างชัดเจน

Does Productivity Paradox still matter?
ผลกระทบจากการลงทุนทางด้าน IT สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ
1. Direct impact เป็นผลกระทบที่สามารถเห็นได้ทันที เช่น ลดต้นทุน เพิ่มยอดขาย/กำไร
2. Second-order impact เป็นผลกระทบทางอ้อม เช่น ส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มมากขึ้น, การบริการลูกค้าที่เร็วขึ้น

Evaluating IT Investments: Needs, Benefits, Issues, and Traditional Methods
-                      ในการตัดสินว่าควรนำ IT มาใช้ในองค์กรหรือไม่ อาจพิจารณาจากหลัก Cost-Benefit

Intangible Benefits
ผลประโยชน์ที่ไม่สามารถวัดได้เป็นตัวเงิน เช่น ความรวดเร็วในการเข้าถึงตลาด หรือ Suppliers การวัดความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งสามารถใช้แบบสอบถามเป็นวิธีในการวัดได้

แนวทางสำหรับการวัดผล Intangible Benefits
-     ประเมินมูลค่าคร่าวๆ ของ Intangible benefits
-     ดูว่ามีความเกี่ยวข้องกับกลยุทธ์หรือตัวชี้วัดที่สำคัญขององค์กรไหม
-     ดูผลประโยชน์ระยะสั้นก่อนว่าลงทุนแล้วจะได้อะไร
-     พยายามมองว่าประโยชน์ที่ไม่เป็นตัวเงินมีอะไรบ้าง โดยพยายามมองจากทุกทาง

Costing IT Investment สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
1.             Fixed costs ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในปีแรก เช่น ลงทุนใน Infrastructure
2.             Transaction costs เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการติดต่อซื้อขายระหว่างกัน ได้แก่ ต้นทุนในการเลือกซื้อ/หาข้อมูล, ต้นทุนในการได้มาซึ่งข้อมูลค่าใช้จ่ายในการตัดสินใจ เช่น อนุมัติการซื้อ/การขาย เป็นต้น, ต้นทุนในการติดตามสินค้าที่ถูกขายออกไปแล้ว บริการหลังการขายสินค้า เป็นต้น

Cost & Benefit Analysis
เป็นการพิจารณาการลงทุนโดยการเปรียบเทียบระหว่างต้นทุนที่เสียไป กับประโยชน์ที่จะได้รับ โดยจะลงทุนเมื่อ Benefit มากกว่า Cost นั่นคือ เกิดความคุ้มค่า ซึ่งมีขั้นตอนในการวิเคราะห์ 2 ขั้นตอน คือ 
1. ระบุและประมาณต้นทุนและประโยชน์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง 
2. อธิบายออกมาเป็นตัวเงิน
โดยต้นทุนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ Development costs เช่น ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบ, Setup costs พวกค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง Hardware/Software, Operational costs เช่น ค่าไฟ
ผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย Direct benefits, Assessable indirect benefits and Intangible benefits

Cash Flow Forecasting 
1.     Net profit เป็นการพิจารณาแค่กำไรทั้งจำนวนตอนสิ้นสุดอายุโครงการเพียงก้อนเดียว
ข้อเสียคือ ไม่ได้สนใจเรื่อง TMV (Time Money Value) และไม่ได้สนใจจำนวนของเงินลงทุน
2.     Payback Period เป็นการพิจารณาระยะเวลาคืนทุน
ข้อเสียคือ ไม่ได้สนใจว่า Net profit ของแต่ละโครงการเป็นเท่าไร
3.     Return on investment (ROI) เป็นการพิจารณาผลตอบแทนจากการลงทุน
ข้อเสียคือ ไม่ได้สนใจเรื่อง TMV
4.     Net present value (NPV) เป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุด เป็นการคิดลดกระแสเงินด้วย Discount rateโดย Discount rate ที่เหมาะสมอ้างอิงจากต้นทุนของเงินทุน
ข้อเสียคือ การที่ฐานที่ใช้คิด NPV ต่างกัน ทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ เช่น โครงการเล็ก/ใหญ่
5.     Interest rate of return (IRR) เป็นอัตราผลตอบแทนที่ทำให้ NPV=0 เป็นค่า % ซึ่งสามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ระหว่างโครงการ
การเลือกใช้วิธีการใด พิจารณาจากข้อดี-ข้อเสีย และมีความเหมาะสมตรงต่อความต้องการของแต่ละกิจการ

Where costs of IT investment go? 
-       Overhead การนำค่าใช้จ่ายในส่วน IT มาลงเป็นค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่จะนำไปปันส่วนให้กับส่วนงานต่างๆ ต่อไป
-       Chargeback มีการคิดค่าใช้จ่ายในการใช้งานไปยังผู้ใช้ มีประโยชน์คือ แต่ละแผนกสามารถควบคุมปริมาณการใช้งานได้ ซึ่งทำให้สามารถกำหนดนโยบายในการใช้งาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอีกด้วย

Managerial Issues
            ประเด็นหลักๆ ที่ผู้บริหารต้องคำนึงถึง
-       การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็วในปัจจุบัน
-       การมองผลประโยชน์ทั้งในส่วนที่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเงิน และที่ไม่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเงิน ต่างจากเดิมที่จะมองแต่ประโยชน์ที่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเงินได้
-       ไม่มีอะไรที่แน่นอน หากอยากรู้ว่าระบบดีหรือไม่ดี ต้องมีการวัดผลอยู่เสมอ
-       การคิดค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ หรือกำหนดขอบเขตของการใช้งาน เช่น กำหนดว่าหากใช้ต่ำกว่าเกณฑ์จะสามารถใช้ได้ฟรี
-       ต้องมีการวิเคราะห์ความเสี่ยง โดยการระบุประเภท ขนาดและโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงนั้นๆ
-       เลือกใช้เครื่องมือในการวัดผลการลงทุนใน IT ทั้งในด้านที่เป็นการเงินและไม่ใช่การเงิน
-       อาจใช้หลายๆ ฝ่ายมาช่วยกันตัดสินใจ หรือตั้งเป็น Semi-committee ขึ้นมา เป็นต้น หรือใช้ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก

ฐาณิต อภิเชษฐ์โยธา   5302110134   Thanit A.