วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Lecture 7/12/10

Moore’s Law

ความสามารถของ Computer Chip จะมีเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆ 18-24 เดือนในขณะที่ต้นทุนยังเท่าเดิม ซึ่งเป็นโอกาสที่องค์กรจะได้ซื้อของที่ดี ในราคาถูกเพิ่มมากขึ้น อัตราส่วน Price-to-performance จะลดลงอย่างมาก

Productivity Paradox
Productivity Paradox เป็นความขัดแย้งกันระหว่างการพัฒนาของเทคโนโลยี กับการเติบโตที่ช้าลงของ Productivity 
เหตุผลที่เป็นไปได้ของ Productivity Paradox อย่างเช่น วัด Productivity ได้ยาก เนื่องจากมีความยากในการวัด หรือต้องใช้เวลาในการรอผลเนื่องจากการลงทุนใน IT ซึ่งมีเงินลงทุนที่สูง ดังนั้นอาจไปลดต้นทุนในส่วนแผนกงานอื่นๆ ทำให้แผนกงานอื่นมีผลงานที่แย่ลง ทำให้ไม่สามารถเห็นผลประโยชน์ที่ได้รับสำหรับภาพรวมของบริษัทได้อย่างชัดเจน

Does Productivity Paradox still matter?
ผลกระทบจากการลงทุนทางด้าน IT สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ
1. Direct impact เป็นผลกระทบที่สามารถเห็นได้ทันที เช่น ลดต้นทุน เพิ่มยอดขาย/กำไร
2. Second-order impact เป็นผลกระทบทางอ้อม เช่น ส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มมากขึ้น, การบริการลูกค้าที่เร็วขึ้น

Evaluating IT Investments: Needs, Benefits, Issues, and Traditional Methods
-                      ในการตัดสินว่าควรนำ IT มาใช้ในองค์กรหรือไม่ อาจพิจารณาจากหลัก Cost-Benefit

Intangible Benefits
ผลประโยชน์ที่ไม่สามารถวัดได้เป็นตัวเงิน เช่น ความรวดเร็วในการเข้าถึงตลาด หรือ Suppliers การวัดความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งสามารถใช้แบบสอบถามเป็นวิธีในการวัดได้

แนวทางสำหรับการวัดผล Intangible Benefits
-     ประเมินมูลค่าคร่าวๆ ของ Intangible benefits
-     ดูว่ามีความเกี่ยวข้องกับกลยุทธ์หรือตัวชี้วัดที่สำคัญขององค์กรไหม
-     ดูผลประโยชน์ระยะสั้นก่อนว่าลงทุนแล้วจะได้อะไร
-     พยายามมองว่าประโยชน์ที่ไม่เป็นตัวเงินมีอะไรบ้าง โดยพยายามมองจากทุกทาง

Costing IT Investment สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
1.             Fixed costs ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในปีแรก เช่น ลงทุนใน Infrastructure
2.             Transaction costs เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการติดต่อซื้อขายระหว่างกัน ได้แก่ ต้นทุนในการเลือกซื้อ/หาข้อมูล, ต้นทุนในการได้มาซึ่งข้อมูลค่าใช้จ่ายในการตัดสินใจ เช่น อนุมัติการซื้อ/การขาย เป็นต้น, ต้นทุนในการติดตามสินค้าที่ถูกขายออกไปแล้ว บริการหลังการขายสินค้า เป็นต้น

Cost & Benefit Analysis
เป็นการพิจารณาการลงทุนโดยการเปรียบเทียบระหว่างต้นทุนที่เสียไป กับประโยชน์ที่จะได้รับ โดยจะลงทุนเมื่อ Benefit มากกว่า Cost นั่นคือ เกิดความคุ้มค่า ซึ่งมีขั้นตอนในการวิเคราะห์ 2 ขั้นตอน คือ 
1. ระบุและประมาณต้นทุนและประโยชน์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง 
2. อธิบายออกมาเป็นตัวเงิน
โดยต้นทุนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ Development costs เช่น ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบ, Setup costs พวกค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง Hardware/Software, Operational costs เช่น ค่าไฟ
ผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย Direct benefits, Assessable indirect benefits and Intangible benefits

Cash Flow Forecasting 
1.     Net profit เป็นการพิจารณาแค่กำไรทั้งจำนวนตอนสิ้นสุดอายุโครงการเพียงก้อนเดียว
ข้อเสียคือ ไม่ได้สนใจเรื่อง TMV (Time Money Value) และไม่ได้สนใจจำนวนของเงินลงทุน
2.     Payback Period เป็นการพิจารณาระยะเวลาคืนทุน
ข้อเสียคือ ไม่ได้สนใจว่า Net profit ของแต่ละโครงการเป็นเท่าไร
3.     Return on investment (ROI) เป็นการพิจารณาผลตอบแทนจากการลงทุน
ข้อเสียคือ ไม่ได้สนใจเรื่อง TMV
4.     Net present value (NPV) เป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุด เป็นการคิดลดกระแสเงินด้วย Discount rateโดย Discount rate ที่เหมาะสมอ้างอิงจากต้นทุนของเงินทุน
ข้อเสียคือ การที่ฐานที่ใช้คิด NPV ต่างกัน ทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ เช่น โครงการเล็ก/ใหญ่
5.     Interest rate of return (IRR) เป็นอัตราผลตอบแทนที่ทำให้ NPV=0 เป็นค่า % ซึ่งสามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ระหว่างโครงการ
การเลือกใช้วิธีการใด พิจารณาจากข้อดี-ข้อเสีย และมีความเหมาะสมตรงต่อความต้องการของแต่ละกิจการ

Where costs of IT investment go? 
-       Overhead การนำค่าใช้จ่ายในส่วน IT มาลงเป็นค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่จะนำไปปันส่วนให้กับส่วนงานต่างๆ ต่อไป
-       Chargeback มีการคิดค่าใช้จ่ายในการใช้งานไปยังผู้ใช้ มีประโยชน์คือ แต่ละแผนกสามารถควบคุมปริมาณการใช้งานได้ ซึ่งทำให้สามารถกำหนดนโยบายในการใช้งาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอีกด้วย

Managerial Issues
            ประเด็นหลักๆ ที่ผู้บริหารต้องคำนึงถึง
-       การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็วในปัจจุบัน
-       การมองผลประโยชน์ทั้งในส่วนที่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเงิน และที่ไม่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเงิน ต่างจากเดิมที่จะมองแต่ประโยชน์ที่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเงินได้
-       ไม่มีอะไรที่แน่นอน หากอยากรู้ว่าระบบดีหรือไม่ดี ต้องมีการวัดผลอยู่เสมอ
-       การคิดค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ หรือกำหนดขอบเขตของการใช้งาน เช่น กำหนดว่าหากใช้ต่ำกว่าเกณฑ์จะสามารถใช้ได้ฟรี
-       ต้องมีการวิเคราะห์ความเสี่ยง โดยการระบุประเภท ขนาดและโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงนั้นๆ
-       เลือกใช้เครื่องมือในการวัดผลการลงทุนใน IT ทั้งในด้านที่เป็นการเงินและไม่ใช่การเงิน
-       อาจใช้หลายๆ ฝ่ายมาช่วยกันตัดสินใจ หรือตั้งเป็น Semi-committee ขึ้นมา เป็นต้น หรือใช้ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก

ฐาณิต อภิเชษฐ์โยธา   5302110134   Thanit A.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น